วันศุกร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2553

การใช้เครื่องมือในการตรวจสอบสิ่งแวดล้อม

แนวนโยบายการบริหารการจัดการน้ำเสียและการเลือกใช้เทคโนโลยีผสมผสานที่เหมาะสมกับการจัดการมลพิษทางน้ำ
(Household/Onsite/Cluster/Central Treatment plant)

ดร.อนุพันธ์ ์อิฐรัตน์์
ผู้อ้อำานวยการสำานักจัดการคุณภาพน้ํ้ำา สำานักจัดการคุณภาพน้ํ้ำา กรมควบคุมมลพิษ

ผลักดันการประยุกต์ใช้มาตรการทางเศรษฐศาสตร์
(Econmic Instrument)
การลดของเสีย
การใช้ซ้ำ/การรีไซเคิล
การบำบัด
การทิ้ง
กรอบนโยบายการบริหารจัดการ (3)
(5) ส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ
(6) ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน
ชุมชนฐานราก
เข้า้ามามีบทบาท
ในกระบวนการ
ดูแลรักษาคุณภาพน้ํ้ำา
นักวิชาการ
ภาคประชาชน
ภาครัฐ
การจัดการน้ํ้ำาเสียชุมชน
1. ส่ง่เสริมการจัดการน้ํ้ำาเสียทีี่ตน้น้ ทางโดยให้ป้ประชาชนติดตัั้ง
ถังดักไขมันและระบบบำาบัดน้ํ้ำาเสียสำาหรับบา้า้ นเรือน (Household
Treatment Plant)
น้ำเสียจากครัว น้ำเสียจากส้วม น้ำเสียจากการใช้น้ำบ้านเรือนและอาคารใหม่ท่อระบายน้ำสาธารณะซึมลงดิน/ระบบบำบัดน้ำเสีย พื้นที่ว่างเปล่าขนาดเล็กสำหรับบ้านเรือนถังดักไขมันน้ำเสียจากการใช้
น้ำเสียจากส้วมน้ำเสียจากครัวท่อระบายน้ำสาธารณะซึมลงดิน/พื้นที่ว่างเปล่าถังดักไขมันถังเกรอะบ้านเรือนและอาคารเก่า
2. ฟื้นฟูประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสียที่จัดสร้างแล้ว
􀂾 ปรับปรุงซ่อมแซมระบบเดิม
􀂾 ขยายระบบท่อรวบรวมน้ำเสีย
(1) เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้บริการและศักยภาพการรองรับน้ำเสียของระบบการจัดการน้ํ้ำาเสียชุมชน
(2) ให้ อปท. มีส่วนร่วมรับผิดชอบในการจัดการและควบคุมมลพิษในพื้นที่ของตนเอง ในพื้นที่ของตนเอง
3. ส่งเสริมการจัดสร้างระบบบำบัดน้ำเสียแบบรวมกลุ่มอาคาร (Cluster TreatmentPlant) สำหรับชุมชนขนาดเล็กหรือกลุ่มอาคารบ้านเรือนที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก โดยลดการจัดสร้างระบบท่อรวบรวมน้ำเสีย
การจัดการน้ํ้ำาเสียชุมชน \
4. จัดสร้างระบบบำบัดน้ำเสียแบบรวมศูนย์ (Central WastewaterTreatment Plant) เฉพาะพื้นที่ที่
มีความหนาแน่นของประชากรสูงและเป็นพื้นที่ที่มีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมหรือแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ โดยต้องประเมินรูปแบบและเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียที่มีขนาดเหมาะสมและประหยัด
งบประมาณการจัดการน้ํ้ำาเสียชุมชน
5. ติดตามประเมินผลการใช้งานและประสิทธิภาพของระบบบำ บัด น้ำ เ สีย ร ว ม ที่มีก า รจัดสร้างไว้แล้วและปรับปรุงฟื้นฟูระบบฯ ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพการจัดการน้ํ้ำาเสียชุมชน
6. สร้างความพร้อมให้ท้องถิ่นในการเดินระบบและบำรุงรักษาระบบ
บำบัดน้ำเสียรวมและการจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสีย
7. ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นในการติดตั้งถังดักไขมัน ระบบบำบัดน้ำเสีย
สำหรับบ้านเรือน และการจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสีย
8. พัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการผลิตผลิตภัณฑ์บำบัดน้ำเสียสำหรับ
บ้านเรือนและระบบบำบัดน้ำเสียแบบรวมกลุ่มอาคาร
9. กำกับการบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้อาคารและสถานประกอบการการบำบัดน้ำเสียการจัดการน้ำเสียชุมชน แหล่งกำเนิดน้ำเสียอื่นที่ต้องถูกควบคุมและตรวจสอบ
􀂾 ฟาร์มสุกร
􀂾 บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
􀂾 บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อย
􀂾 บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด
􀂾 โรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม
􀂾 สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
􀂾 อาคาร 8 ประเภท ได้แก่ อาคารชุด โรงแรม โรงพยาบาล สถาบันการศึกษา สำนักงานศูนย์การค้า ตลาด และร้านอาหาร
􀂾 ที่ดินจัดสรร




ระบบบำบัดน้ำเสีย (Waste Water Treatment System)

ระบบตะกอนเร่ง (Activated sludge system)

ระบบ เอสบีอาร์ (Sequencing Batch Reactor, SBR)

ระบบกำจัดโลหะหนัก (Heavy metal removal system)


ระบบกำจัดไขมันและน้ำมัน (Grease and oil removal system)

ระบบผลิตก๊าชชีวภาพจากระบบบำบัดน้ำเสีย (Biogas from wastewater treatment plant)

ระบบยูเอเอสบี UASB (Up-flow Anaerobic Sludge Blanket System)


ตึกใบหยกทาวเวอร์ 2
Wastewater Treatment Plant
งานออกแบบปรับปรุงและเริ่มต้นระบบ
Client: บริษัท ภูมิภวัน จำกัด
Location: ตึกใบหยกทาวเวอร์ 2
Project Data: สามารถบำบัดน้ำสียได้วันละ 100 ลบ.ม. ด้วยระบบ ACTIVATED SLUDGE SYSTEM

ระบบกำจัดโลหะหนัก (Heavy metal removal system)


บริษัท อาซาฮี อินเทค (ไทยแลนด์) จำกัด
Wastewater Treatment Plant:
โครงการออกแบบและก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย
Client:บริษัท อาซาฮี อินเทค (ไทยแลนด์) จำกัด
Location:สวนอุตสาหกรรมบางกะดี
อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี
Project Data: สามารถบำบัดน้ำเสียได้สูงสุด 40 ลบ.ม. ต่อวัน ด้วยระบบตกตะกอนโลหะหนัก (โครเมียมและนิเกล)


ระบบตะกอนเร่ง (Activated sludge system)

บริษัท ยิ่งเจริญฟูดส์ จำกัด
Wastewater Treatment Plant:
โครงการออกแบบปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสีย
Client:บริษัท ยิ่งเจริญฟูดส์ จำกัด
Location:อำเภอสิชล จ.นครศรีธรรมราช
Project Data:สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 100 ลบ.ม. ต่อวัน ด้วยระบบชีวภาพแบบไร้อากาศและใช้อากาศ



ระบบ เอสบีอาร์ (Sequencing Batch Reactor, SBR)

บริษัท โตโยต้าเมืองนนท์ จำกัด
Wastewater Treatment Plant: โครงการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย
Client: บริษัท โตโยต้าเมืองนนท์ จำกัด
Location: ศูนย์บริการมาตราฐาน สาขาพระราม 5
Project Data: สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 8 ลบ.ม. ต่อวัน ด้วยระบบชีวภาพแบบไร้อากาศและใช้อากาศ




บริษัท โตโยต้านนทบุรี ผู้จำหน่ายโตโยต้า จำกัด
Wastewater Treatment Plant: โครงการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย
Client: บริษัท โตโยต้านนทบุรี ผู้จำหน่ายโตโยต้า จำกัด
Location: ศูนย์บริการมาตรฐาน สำนักงานใหญ่รัตนาธิเบศร์
Project Data: สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 45 ลบ.ม. ต่อวัน ด้วยระบบตกตะกอนทางเคมีและระบบชีวภาพ











เครื่องมือและอุปกรณ์ระบบบำบัดน้ำเสีย




เครื่องควบคุมความเป็น กรด-ด่าง และ ค่าโออาร์พี
PH & ORP CONTROLLER
สามารถวัดค่าและควบคุมการทำงานของเครื่องสูบจ่ายกรดหรือด่างตามที่ต้องการ อีกทั้งยังสามารถส่งสัญญาณ 4-20 mA เพื่อการควบคุมแบบ PLC.



เครื่องสูบจ่ายสารเคมี
ELECTRO-MAGNETIC, MOTOR DRIVEN TYPE DIAPHRAGM METERING PUMPS.
เป็นเครื่องสูบจ่ายสารเคมีชนิดแผ่นไดอะแฟรม มีทั้งชนิดที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ และแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถปรับอัตราการสูบจ่ายได้ตั้งแต่ 0-100% ใช้ได้กับเคมีหลายชนิด




เครื่องอัดตะกอน
CHAMBER PLATE TYPE/ MEMBRANE PLATE TYPE FILTER PRESSES
สามารถบีบอัดตะกอนให้มีปริมาณความชื้นต่ำ (30%-75% ขึ้นอยู่กับชนิดของตะกอน) สามารถนำไปใช้ในกระบวนการผลิตที่ต้องการแยกน้ำออกจากกากได้ เช่น กระบวนการผลิตไบโอดีเซล เป็นต้น



เครื่องเตรียมสารละลายโพลิเมอร์อัตโนมัติ
AUTOMATIC DISPENSING DISSOLVERS
เหมาะสำหรับการเตรียมโพลิเมอร์ชนิดผงให้เป็นสารละลายในความเข้มข้นที่ต้องการใช้สำหรับงานระบบบำบัดน้ำเสีย และระบบผลิตน้ำประปา



เครื่องรีดตะกอน
BELT PRESSES
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการรีดน้ำออกจากตะกอน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดการตะกอนอีกทั้งง่ายต่อการใช้งานและการบำรุง รักษาคุ้มค่ากับการลงทุน เหมาะสำหรับโรงงานที่มีเนื้อที่จำกัด

การตรวจสอบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม

การตรวจสอบระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม

นายธวัชชัย กลิ่นบุบผา
วิศวกรไฟฟ้า การไฟฟ้านครหลวงเขตยานนาวา e-mail address : thawatchai.k@mea.or.th

บทคัดย่อ
การตรวจสอบระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมจะต้องตรวจสอบระบบต่างๆ ของอาคารอย่างน้อย 6 ระบบคือ ระบบประปา, ระบบระบบบายน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย, ระบบระบายน้ำฝน, ระบบจัดการมูลฝอย, ระบบระบายอากาศ, ระบบควบคุมพิษทางอากาศและเสียง ผู้ตรวจสอบต้องตรวจสอบตามหลักวิชาชีพและมาตรฐานการตรวจสอบสภาพอาคารของกฎหมายควบคุมอาคาร หรือมาตรฐานสากลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาคารและอุปกรณ์ประกอบอาคาร ตรวจสอบสังเกตด้วยสายตาพร้อมด้วยเครื่องมือพื้นฐานเท่านั้น

Abstract
Monitoring and environmental sanitation will have to check systems. The building is at least 6 plumbing system, standby system, wastewater system and wastewater treatment, rainwater drainage systems, solid waste management systems, ventilation systems, and control toxic air volume. Auditors to review and based on professional standards of the Building Inspection Building Control Act. Or different standards. Related buildings and accessory buildings. Check visual observations with only basic tools.

Keyword : การตรวจสอบสุขอนามัย

บทนำ
การตรวจสอบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม สิ่งผู้ตรวจสอบจำเป็นต้องทราบคือ กฎหมายต่างๆ ข้อกำหนด มาตรฐาน และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานต่างๆ ในการควบคุมปัญหาสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ผู้ตรวจสอบจะต้องตรวจสอบด้วยสายตาพร้อมด้วยเครื่องมืออุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็น จัดทำรายงานและประเมินระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมโดยตรวจสอบ
1. สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกอาคาร
2. สภาพการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบประปา ระบบบำบัดน้ำเสียและระบายน้ำเสีย ระบบระบายน้ำฝน ระบบจัดการขยะมูลฝอย
3. การรั่วซึมของท่อ ถังเก็บน้ำประปาและอุปกรณ์ในระบบที่ตรวจสอบ
4. ความสะอาดของระบบประปา โดยเฉพาะถังเก็บน้ำ
5. การคัดแยก การรวบรวมและการจัดเก็บขยะมูลฝอย
ผู้ตรวจสอบต้องตรวจสอบตามหลักวิชาชีพ และมาตรฐานการตรวจสอบสภาพอาคารของกฎหมายควบคุมอาคารหรือมาตรฐานสากลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารโดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์หรือมาตรฐานต่อไปนี้
1. หลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการควบคุม หรือตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการก่อสร้าง
2. มาตรฐานความปลอดภัยของสถาบันของทางราชการ สภาวิศวกร หรือสถาปนิก ทั้งนี้ ณ สถานที่ วัน และเวลาที่ทำการตรวจสอบตามที่ระบุในรายงานเท่านั้น
รายละเอียดในการตรวจสอบ ผู้ตรวจสอบอาคาร ต้องตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารในระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม อย่างน้อยต้องทำการตรวจสอบในเรื่องดังต่อไปนี้
1. ระบบประปา
2. ระบบระบายน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย
3. ระบบระบายน้ำฝน
4. ระบบจัดการมูลฝอย
5. ระบบระบายอากาศ
6. ระบบควบคุมมลพิษทางอากาศและเสียง

1. ระบบประปา
 ตรวจสอบประเภทของอาคาร เพื่อพิจารณาว่าเข้าข่ายอาคารสูง (มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป) อาคารใหญ่พิเศษ (มีพื้นรวมกันอาคารเดียวตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป)
 ตรวจสอบถังเก็บน้ำสำรอง ถึงปริมาตร อัตราการใช้น้ำสูงสุด ความสามารถในการจ่ายน้ำในชั่วโมงการใช้น้ำสูงสุดได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง
 ตรวจสอบแรงดันน้ำในเส้นท่อจ่ายน้ำที่จุดไกลสุดของ Line Roof Tank โดยติดตั้ง Gauge Pressure ต้องไม่น้อยว่า 0.1 เมกะปาสกาล (ประมาณ 1 บาร์)
 ตรวจสอบท่อจ่ายน้ำ ว่ามีวิธีการป้องกันในสิ่งปนเปื้อนหรือไม่
 ตรวจสอบท่อจ่ายน้ำดื่มกับท่อจ่ายน้ำใช้ ว่าไม่มีการเชื่อมต่อกัน
 ตรวจสอบการรั่วซึมของท่อประปา ว่ามีรอยรั่วซึมจากท่อน้ำประปาจากจุดต่างๆ ในระบบหรือไม่
 ตรวจสอบถังเก็บน้ำประปา ว่าคุณภาพน้ำ ขุ่น สามารถทำความสะอาดถังได้หรือไม่ ถังแยกจากถึงเก็บน้ำสำรองดับเพลิงหรือไม่ ลูกลอยปิดเปิด ท่อระบายอากาศ เกจอ่านระดับน้ำ
 ตรวจสอบชนิดท่อประปา ว่าใช้ท่อชนิดใด GSP หรือ HDPE หรือ PVC อยู่ใน Class ใด เพื่อตรวจสอบว่าสามารถรับความดันได้หรือไม่
 ตรวจสอบวาล์วต่างๆ, Pressure Gauge, Flexible Connection ว่าวาล์วต่างๆ ติดตั้งถูกต้องหรือไม่ เช่น Check Valve, Air Vent, Pressure Release Valve
 ตรวจสอบเครื่องสูบน้ำ ว่าเลือกชนิดถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ Capacity Head พอเพียง Operate บ่อยเกินไปหรือไม่
 ตรวจสอบ Water Hammer เกิดในระบบหรือไม่ มีอุปกรณ์ป้องกันหรือไม่
1.1 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบประปา
 กฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
ข้อ 36 อาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษต้องมีที่เก็บน้ำใช้สำรองที่สามารถจ่ายน้ำในชั่วโมงการใช้น้ำสูงสุดได้ไม่น้อยกว่า2ชั่วโมง และต้องมีระบบท่อจ่ายน้ำประปาที่มีแรงดันน้ำในท่อจ่ายน้ำและปริมาณประปาที่กฎหมายกำหนด ดังนี้
(1) แรงดันน้ำในระบบท่อจ่ายน้ำ ที่จุดน้ำเข้าเครื่องสุขภัณฑ์ต้องเป็นแรงดันในชั่วโมงการใช้น้ำสูงสุดไม่น้อยกว่า 0.1 เมกะปาสกาลมาตร
(2) ปริมาณการใช้น้ำสำหรับจ่ายให้แก่ผู้ใช้น้ำทั้งอาคารสำหรับประเภทเครื่องสุขภัณฑ์แต่ละชนิดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์สากล
ข้อ 37 ระบบท่อจ่ายน้ำ ต้องมีวิธีป้องกันมิให้สิ่งปนเปื้อนจากภายนอกเข้าไปในท่อจ่ายน้ำได้
ในกรณีที่ระบบท่อจ่ายน้ำแยกกันระหว่างน้ำดื่มกับน้ำใช้ ต้องแยกชนิดของท่อจ่ายน้ำให้ชัดเจน ห้ามต่อท่อจ่ายน้ำทั้งสองระบบเข้าด้วยกันตาม
 ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร พ. ศ. 2544


2. ระบบระบายน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย
 ตรวจสอบประเภทอาคาร เข้าข่ายอาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ
 ตรวจสอบการออกแบบและรายการคำนวณ ว่ามีวิศวกรประเภทสามัญวิศวกรเซ็นรับรองแบบ และรายการคำนวณหรือไม่
 ตรวจสอบประเภทระบบบำบัดน้ำเสีย แยกแต่ละอาคาร หรือใช้ระบบบำบัดกลางรวมทุกอาคาร
 ตรวจสอบเหตุเดือนร้อนรำคาญจากระบบบำบัดน้ำเสีย มีหรือไม่ ระบบต้องไม่เกิดเสียง กลิ่น ฟอง กาก ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และเดือนร้อยรำคาญต่อชุมชนใกล้เคียง
 ตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งที่บำบัดแล้ว เป็นไปตามกฎหมาย และได้มาตรฐานหรือไม่
 ตรวจสอบทางระบายน้ำทิ้ง หากเป็นรางระบายต้องทำความสะอาดง่าย หากเป็นท่อเปิดต้องมี Manhole ทุกระยะไม่เกิน 8 เมตรและทุกมุมเลี้ยว
 ตรวจตรวจแหล่งรองรับน้ำทิ้ง มีขนาดเพียงพอหรือไม่ในชั่วโมงการใช้น้ำสูงสุด หากไม่พอต้องมีที่พักน้ำทิ้งรองรับน้ำทิ้งส่วนเกิน
 ตรวจสอบระบบท่อ/การรั่วซึม การต่อท่อถูกต้องตามทฤษฎีหรือไม่ มีตรวจสอบท่อน้ำเสียต่างๆ ว่ามีการรั่วซึมหรือไม่
 ตรวจสอบความลาดเอียงท่อ มีความลาดเอียงเพียงพอหรือไม่ Slope 1:500 ถึง 1:50
 ตรวจสอบจุดทำความสะอาด ที่ FCO และ CO ในตำแหน่งที่ถูกต้องหรือไม่
 ตรวจสอบท่อระบายอากาศ มีเพียงพอหรือไม่ และอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องหรือไม่
 ตรวจสอบถังดักไขมัน มีหรือไม่ มีการอุดต้นจากไขมันหรือไม่
 ตรวจสอบอุปกรณ์ของระบบบำบัดน้ำเสีย ใช้ถูกต้องและสามารถซ่อมบำรุงได้ง่ายหรือไม่ มีบ่อรองรับน้ำเสียลึก 5-6 เมตร หรือไม่
 ตรวจสอบการจดบันทึกการทำงาน มีการจดบันทึกการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียหรือไม่
 ตรวจสอบการบำบัดตะกอน มีตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียหรือไม่
2.1 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบระบายน้ำเสีย และระบบบำบัดน้ำเสีย
 กฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 30, 32, 33, 34 และ 35
 กฎกระทรวงฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
 กฎกระทรวงฉบับที่ 51 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
 ประกาศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดมาตรฐาน ควบคุมระบายน้ำทิ้ง จากอาคารบางประเภท และ บางขนาด ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2548 ประกาศในราชกิจานุเบกษาเล่มที่ 122 ตอนที่ 125 ง วันที่ 29 ธันวาคม 2548
 ประกาศ กระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่2 (พ.ศ.2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 3535 เรื่อง กำหนดคุณลักษณะของน้ำทิ้ง ที่ระบายออกจากโรงงาน
 ประกาศ กระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดคุณลักษณะของน้ำทิ้ง ที่ระบายออกจากโรงงานให้มีค่าแตกต่างจากที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2539) กำหนดคุณลักษณะของน้ำที่ระบายออกจากโรงงาน

3. ระบบระบายน้ำฝน
 ตรวจสอบประเภทอาคาร เข้าข่ายอาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษหรือไม่
 ตรวจสอบท่อระบายน้ำฝน มีหัวรับน้ำฝนที่มีตะแกรงกันขยะหรือไม่ มีการระบายลง Manhole หรือไม่
 ตรวจสอบชนิดท่อ ใช้ท่อชนิดใด ใช้ PVC นอกอาคารหรือไม่
 ตรวจสอบแหล่งรับน้ำทิ้ง มีความสามารถเพียงพอหรือไม่ การระบายน้ำฝนลงแหล่งรับน้ำโดยตรวจหรือไม่
 ตรวจสอบบ่อหน่วงน้ำ ว่าจำเป็นต้องมีบ่อหน่วงน้ำหรือไม่
3.1 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบระบายน้ำฝน
 กฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 31
 ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร พ. ศ. 2544 ข้อ 69

4. ระบบจัดการมูลฝอย
 ตรวจสอบประเภทอาคาร เข้าข่ายอาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษหรือไม่
 ตรวจสอบภาชนะการเก็บมูลฝอย มีการแยกขยะหรือไม่ มีภาชนะ หรือถังเก็บขยะพอเพียงหรือไม่
 ตรวจสอบการขนส่ง ลำเลียงมูลฝอย มีลิฟต์ หรือปล่องทิ้งมูลฝอยหรือไม่
 ตรวจสอบห้องพักรวมมูลฝอย มีหรือไม่ ความจุมากกว่า 3 เท่าของปริมาณมูลฝอยแต่ละวัน ผนังถาวรและทนไฟ มีรูระบายน้ำเสีย ป้องกันกลิ่น ระบายอากาศ และระบบน้ำเข้า ห่างจากสถานะที่เก็บอาหาร 4-100 เมตร
 ตรวจสอบปล่องทิ้งมูลฝอย ทำด้วยวัสดุทนไฟ ความกว้างแต่ละด้านหรือเส้นผ่าศูนย์กลาง 60 ซม. ระบายอากาศและประตูล่างมีฝาปิด
4.1 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบจัดการมูลฝอย
 กระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 38 39 40 และ 42
 กฎกระทรวงฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

5. ระบบระบายอากาศ
 ตรวจสอบประเภทอาคารเข้าข่ายอาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษหรือไม่
 ตรวจสอบวิธีการระบายอาคาร มีตามธรรมชาติหรือ โดยกลวิธีกล
 ตรวจสอบระบบปรับภาวะอากาศ มีหรือไม่ มีการระบายอากาศพอเพียงหรือไม่
5.1 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบระบายอากาศ
 กฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 9 และ 10
 กฎกระทรวงฉบับที่ 50 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 9 10 และ 11

6. ระบบควบคุมมลพิษทางอากาศ และเสียง
 ตรวจสอบประเภทอาคาร เป็นอาคารชนิดใด อาคารสูง ศูนย์การค้า โรงงาน ฯลฯ
 ตรวจสอบปัญหามลพิษ ว่ามีหรือไม่ มีแหล่งกำเนิดจากที่ใด
 ตรวจสอบการควบคุมมลพิษอากาศ ว่ามีหรือไม่ ใช้วิธีการ/อุปกรณ์ชนิดใด มีประสิทธิภาพหรือไม่ ใช้มาตรฐานตามกฎหมายหรือไม่
 ตรวจสอบการควบคุมมลพิษเสียง ว่ามีหรือไม่ ใช้วิธีการ/อุปกรณ์ชนิดใด มีประสิทธิภาพหรือไม่ ใช้มาตรฐานตามกฎหมายหรือไม่
6.1 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบควบคุมมลพิษทางอากาศ และเสียง
6.1.1 พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535
 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2548
 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าระดับเสียงการรบกวนและระดับเสียงที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน พ.ศ. 2548
6.1.2 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535
 ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ.2538)
 ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติฉบับที่ 24 (พ.ศ.2547)
 ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติฉบับที่ 15 (พ.ศ.2540)
 ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติฉบับที่ 17 (พ.ศ.2543)
สรุป
การตรวจสอบระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ผู้ตรวจสอบอาคารต้องตรวจสอบระบบต่างๆ ของอาคาร อย่างน้อย 6 ระบบ คือ ระบบประปา, ระบบระบายน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย, ระบบระบายน้ำฝน, ระบบจัดการมูลฝอย, ระบบระบายอากาศ, ระบบควบคุมมลพิษทางอากาศและเสียง โดยตรวจสอบเพื่อความถูกต้องตามกฎหมาย ตามหลักวิชาการ ความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย การควบคุมเครื่องจักรและอุปกรณ์ และการตรวจสอบปัญหามลพิษและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยตรวจสอบตามหลักวิชาชีพและมาตรฐานการตรวจสอบสภาพอาคารของกฎหมายควบคุมอาคารหรือมาตรฐานสากลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาคารและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับอาคาร

เอกสารอ้างอิง
[1] ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม “การพัฒนาศักยภาพ บุคลากรท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม”กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2549. พิมพ์ครั้งที่ 1.
[2] ศ.ดร.สุรินทร์ เศรษฐมานิต และนายทาเคโอะ มอริมู ระ “วิศวกรรมงานท่อภายในอาคาร การออกแบบ ติดตั้ง และการบำรุงรักษา” : กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ดวงกมล.2529 พิมพ์ครั้งที่2 .373 หน้า
[3] สมาคมวิศกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย.”รวม กฎหมายสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้ปฏิบัติ”.กรุงเทพฯ: สมาคมวิศกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย.: 2546.: พิมพ์ครั้งที่3 910 หน้า
[4] เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่องแนวทางการ ตรวจสอบระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม.:อ.ดร. มงคล ดำรงศรี.: ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.:16 ธันวาคม 2549.